แต่งรูป

มาทำความเข้าใจเรื่องสี กัน

18:44:00

เรื่องสีนี้หากคุณเข้าใจมันอย่างถูกต้อง มันสามารถเปลี่ยนอารมณ์ของภาพ และส่งผลกระทบต่อเรื่องราวอย่างมาก  อีกทั้งดึงดูสายตาคนได้ด้วย ลองดูตัวอย่างภาพนี้ สีของแสงนั้นจะดึงดูคนมองไปยังท่อ และการควมอารมณ์ของสี มันทำให้ภาพดูสงบๆ มากขึ้น
Created by Cornelius Dämmrich
หากคุณไม่เข้าใจเรื่องสี คุณอาจถ่ายภาพออกมาเป็นแบบนี้ได้
wrong-color-1


แต่หากเข้าใจเรื่องสีและการให้อารมณ์ของแต่ละสี คุณจะทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น ดูภาพด้านล่างนี้ให้อารมณ์ขี้เล่นแล้วสดใสร่าเริง

Courtesy of Anders Ehrenborg and Bill Presing
Saturation (ความอิ่มตัวของสี) และ Value (ความมืดและสว่างของสี)
หลายคนอาจคิดว่าเรื่องสีต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับ วรรณะของสี คู่สี หรือสีตรงกันข้าม แต่ความจริงแล้ว Saturation และ Value นั้นก็สำคัญพอๆกัน
Saturation and value
ที่ค่า Saturation ที่ 20  ทำให้สีแดงกลายเป็นสีชมพู

Saturation Demonstration

ที่ค่า Value ที่ 20% สีแดงกลายเป็น น้ำตาลเข้ม
Value
ลองมาไล่เฉดสี โดยการเปลี่ยนค่า Saturation และ Value กัน
Shades of Red
แล้วมันสำคัญอย่างไร ? 
เพราะว่าสองค่านี้มันทำลายภาพคุณได้ยังไงละ ช่างภาพมือใหม่ส่วนมากมักจะใช้ค่า Saturation ทำให้สีจัดจ้านเกินไป ดังภาพ
Example of an overly saturated scene
Example of an overly saturated scene
การทำให้สีจัดเกินไปทำให้สายตาของคนมองภาพคุณไม่ได้พักผ่อน คุณไม่ควรใช้มันมากจนเกินไป ลองดูรูปด้านล่างภาพจะดูสบายตามากกว่า
Much nicer saturation levels
Corrected scene
ผมไม่ได้บอกว่ามันไม่ดี แต่มันจะดีก็ต่อเมื่อคุณใช้มันอย่างพอเหมาะ ภาพด้านล่างนี้คุณจะเห็นภูเขาสีแดงมาก่อนเลย จำไว้ว่า ค่า saturation นี้ ช่วยนำสายตามมายังฉาก(หรือจุดที่คุณต้องการ)ได้
Maxfield Parrish - Salzkarawane am toten meer (from ArtRenewal.org)
Maxfield Parrish – Salzkarawane am toten meer (from ArtRenewal.org)
Giuseppe de Nittis - The place de carrousel and the ruins of the tuileries palace in 1882 (from ArtRenewal.org)
Giuseppe de Nittis – The place de carrousel and the ruins of the tuileries palace in 1882 (from ArtRenewal.org)
ภาพด้านล่างนี้ saturation ทำให้พระเยซูดูมีพลัง เพราะอยู่ท่ามกลาง คนที่ไม่มี saturation
John Singleton Copley - The tribute money (from ArtRenewal.org)
John Singleton Copley – The tribute money (from ArtRenewal.org)
นอกจากฉากและองค์ประกอบแล้ว ค่า Saturation ยังมีผลกับอารมณ์ด้วย ดูจากเรื่อง UP ของ Pixar ภาพด้านบนดูมีความสุขกับชีวิต แต่ภาพด้านล่าง ที่มีค่า Saturation น้อยทำให้เห็นถึงความโศกเศร้า เจ็บปวด โดดเดียวเดียวดาย ของตัวละคร
Up Both
สรุปเรื่อง Saturation และ Value ก่อนนะครับ
  • อย่าใช้มากเกินไปใช้แค่พอเหมาะ
  • ใช้เพื่อนำสายตาของคนดู
  • ใช้เล่าเรื่อง
  • ใช้เพื่อสร้างอารมณ์ของภาพ
คราวนี้มาดูวงจรสีกันบ้าง
นี่คือ 6 รูปแบบที่ทำให้ภาพคุณน่าสนใจ
1) ใช้สีๆเดียวทั้งภาพ (Monochromatic)
Monochromatic
รูปแบบนี้จะง่ายสุดเพราะไม่ต้องจำ มันช่วยเน้นเรื่องราวบรรยากาศที่น่าทึ่ง
Hermann David S. Corrodi - The ambush (from ArtRenewal.org)
Hermann David S. Corrodi – The ambush (from ArtRenewal.org)
Courtesy of David Munoz Velazquez
Courtesy of David Munoz Velazquez and Fran Camos
2) Analogous หรือสีที่อยู่ติดกันของวงล้อสี
Analogous
เห็นได้บ่อยในฉากธรรมชาติ มันทำให้ภาพดูสบายตา สงบเย็น นุ่มนวล เรียบง่าย ดูตัวอย่างด้านล่าง
Created by Giovanni Boldini - Portrait of madame E L Doyen (from ArtRenewal.org)
Created by Giovanni Boldini – Portrait of madame E L Doyen (from ArtRenewal.org)
Courtesy of Carlos Ortega Elizalde
Courtesy of Carlos Ortega Elizalde
anologousAlbert Bierstadt – Among the bernese alps (From ArtRenewal.org)
3) Triadic หรือสี ที่มีระยะห่างเท่าๆกันบนวงล้อ เลือกมาสามสี
Triadic
รูปแบบนี้ทำยากมาก เพราะถ้าใช้ในปริมาณเท่ากันมันทำให้ดูสบสนมาก แต่มันก็ใช้ได้ดีในรูปแบบการ์ตูน เพราะสีแบบนี้จะทำให้การ์ตูนดูน่ารัก และใช้ได้ดีกับภาพที่เหนือความเป็นจริง (surreal)
Carl Heinrich Bloch - Casting out the money changers (from ArtRenewal.org)
Carl Heinrich Bloch – Casting out the money changers (from ArtRenewal.org)
Courtesy of Ehsan Hassani Moghaddam
Courtesy of Ehsan Hassani Moghaddam
4) Complimentary (คู่สีตรงข้าม)
Complimentary
รูปแบบนี้ถูกใช้กันอย่างมากที่สุด มันดูน่าสนใจโดยธรรมชาติ  แต่จุดผิดพลาดคือคนส่วนใหญ่ใช้ในปริมาณเท่ากัน  เราควรจะใช้สีใดสีหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ และใช้อีกสีเพื่อดึงให้ความน่าสนใจ
Frank Dicksee- Chivalry (from ArtRenewal.org)
Frank Dicksee- Chivalry (from ArtRenewal.org)
Courtesy of Cornelius Dämmrich
Courtesy of Toni Bratincevic
Courtesy of Toni Bratincevic
Courtesy of Jean-Michel Bihorel
Courtesy of Jean-Michel Bihorel
Courtesy of Baolong Zhang
Courtesy of Baolong Zhang
คู่สีตรงข้ามมันจะเน้นซึ่งกันและกัน หมายความว่า ถ้าภาพสีเขียวพื้นหลังสีแดง มันยิ่งทำให้ค่า Saturation มีค่ามากขึ้น จงระวังตรงนี้ด้วย
5) Split Complimentary คล้ายกับ complimentary แต่อีกฝั่งจะแตกออกไปด้านข้างดังภาพ
Split Complimentary
มันมีประโยชน์หากกรณีคุณคิดว่าแค่สองสีมันไม่พอ อยากให้ภาพแลดูมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ภาพจากรูปแบบนี้จะให้อารมณ์สนุกสนาน สดใส
Eugene Bidau - A Peacock and doves in a Garden (from ArtRenewal.org)
Eugene Bidau – A Peacock and doves in a Garden (from ArtRenewal.org)
Courtesy of Jaroslaw Waskowiak
Courtesy of Jaroslaw Waskowiak
Courtesy of Daniil Alikov
Courtesy of Daniil Alikov
Courtesy of Carlos Ortega Elizalde
Courtesy of Carlos Ortega Elizalde
Courtesy of Anthony Guebels
Courtesy of Anthony Guebels
Courtesy of Anders Ehrenborg and Bill Presing
Courtesy of Anders Ehrenborg and Bill Presing
6) Double Complimentary คล้ายกับ split complimentary แต่จะแตกออกไปด้านข้างทั้งสองฝ่ายเป็นคู่ อาจอยู่ตำหน่งอื่นของภาพก็ได้ ไม่จำเป็นต้องสีตามรูป
Double Complimentary
คุณต้องใช้มันอย่างระมัดระวังเพราะถ้าใช้มันเท่าๆกัน จะทำให้ดูสบสนได้ มันจะดีมากถ้าใช้ ฉากหน้า คู่สีหนึ่ง และ ฉากหลัง คู่สีหนึ่ง

Courtesy of Rafael Reis
Courtesy of Rafael Reis
Courtesy of Sergii Andreichenko
Courtesy of Sergii Andreichenko
Courtesy of Anders Ehrenborg and Chris Sanders
Courtesy of Anders Ehrenborg and Chris Sanders
หวังว่าต่อไปนี้ หากคุณดูภาพของช่างภาพต่างๆ คุณจะรู้เลยว่าเขามีเทคนิคการใช้สีแบบไหนนะครับ 🙂
Credits: Blenderguru

You Might Also Like

0 ความคิดเห็น

//]]>